C^2 KKU What We Teach?

C^2 KKU เราสอนอะไร?

วิทยาการคอมพิวเตอร์

สาขาโดยตรงของสายงานด้านไอทีแทบทุกประเภท ที่สาขานี้ น้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับการเขียนโค้ด (Coding) การพัฒนาโปรแกรมด้านคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ในส่วน Network Software และ Hardware โดยอาชีพที่น้องสามารถทำได้หลังจากเรียนจบคือสายงานด้านไอทีแทบทุกอย่าง เช่น โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรม ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล เจ้าหน้าที่เทคนิค หรืองานผู้เชี่ยวชาญระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

การเรียนเขียนโปรแกรมและซอฟต์แวร์

- เป็นการเรียนรู้วิธีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมและซอฟต์แวร์เช่น ภาษา Java, ภาษา PHP, MySQL เป็นต้น

เรียนเรื่องโครงสร้างและการควบคุมคอมพิวเตอร์

- เป็นการศึกษาว่าคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าอะไรบ้างมีโครงสร้างหรือสภาปัตยกรรมเป็นแบบใจ

การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร

- เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการสื่สารข้อมูล โครงสร้างและโปรโตคอลของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสาขาประยุกต์ที่คล้ายกับสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่จะไม่ได้เรียนการเขียนโปรแกรมหรือเจาะลึกด้านระบบมากนัก สาขานี้จะเน้นให้น้องๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมเบื้องต้น ระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น กราฟิก และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสาขานี้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันมากเช่นกัน และอาชีพที่น้องๆ สาขานี้ทำได้จะคล้ายกับสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ อาทิ นักวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานด้านสารสนเทศ นักพัฒนาเว็บไซต์ เป็นต้น

เรียนพื้นฐานของทุกสาขา

- เหมือนกันหมดทุกคน และจะได้เลือกสาขาเฉพาะเจาะลึกในสาขาที่เราชอบ ตอนปี 3 เทอม 2 พิณมีความถนัดเรื่อง Networks ที่สุดก็เลยเลือกเรียน Computer Networks หรือ ระบบเครือข่ายสื่อสาร ก็จะเรียนเกี่ยวกับเบื้องหลังของการใช้งาน Networks ในชีวิตประจำวันของเรา และการใช้งานในองค์กร อย่างเช่น โทรศัพท์ เครื่อข่ายความถี่ 4G 3G มีความหมายยังไงบ้าง ในองค์กรเขาเชื่องโยงข้อมูลกันยังไง เรียนรู้เบื้องหลัง ของเครือข่ายต่าง ๆ

สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์

เป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศที่ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความต้องการของสังคม

ศึกษาเชิงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทั้งทางกายภาพและชีวภาพ เชื่อมโยงกัน

- เช่น ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา อุทกศาสตร์ นิเวศวิทยา เป็นต้น

ศึกษาปัยจัยทางภูมิศาตร์เชื่อมโยงกับหลักการของสายวิชาการแขนงอื่นๆ

- เช่น ภูมิศาสตร์เศรฐกิจ ภูมิศาสตร์การเมือง ภูมิศาสตร์การขนส่ง ภูมินิเวศ ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว ภูมิศาสตร์ประชากร เป็นต้น

ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์

- เช่น สถิติทางภูมิศาสตร์ ระบบสารสนเทศภูมิศาตร์(GIS) การสำรวจจากระยะไกล(Remote Sensing) การเขียนแผนที่และการแปลแผนที่ การสำรวจในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาเสริมทักษะทางภูมิศาสตร์

- เช่น ภาษาอังกฤษในวิชาภูมิศาสตร์ คอมพิวเตอร์เบื้อต้นสำหรับนักภูมิศาสตร์